กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1047
ชื่อเรื่อง: การจัดการทรัพยากรทางศิลปะการแสดงท้องถิ่นเพื่อชุมชน ตําบลท่ามะเดื่อ อําเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Management of Traditional Performance Art Resources for Community in Thamaduea Subdistrict, Bangkeaw District, Phatthalung Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วนิษา ติคํา
จีรวรรณ ศรีหนูสุด
คำสำคัญ: การจัดการทรัพยากรทางศิลปะ
การแสดงท้องถิ่นเพื่อชุมชน
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องการจัดการทรัพยากรทางศิลปะการแสดงท้องถิ่นเพื่อชุมชน ตําบลท่ามะเดื่อ อําเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง มุ่งตอบคําถาม ๓ ประเด็น คือ เพื่อสํารวจ ศึกษาความเป็นมาและลักษณะของทรัพยากรทางศิลปะการแสดงท้องถิ่น เพื่อศึกษารูปแบบและกระบวนการจัดการทรัพยากรทางศิลปะการแสดงท้องถิ่นของตําบลท่ามะเดื่อในแต่ละช่วงพัฒนาการ และเพื่อศึกษาหารูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการทรัพยากรทางศิลปะการแสดงท้องถิ่นเพื่อชุมชน ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพบนฐานการมีส่วนร่วมกับชุมชน ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การจัดเวทีแลกเปลี่ยนระดมความคิด และดําเนินกิจกรรมร่วมกับคนในตําบล เพื่อนําไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับศิลปะการแสดง การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม การจัดการเรียนรู้ของสวนโมกขพลาราม พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตหรือแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต การพัฒนาแนววัฒนธรรมชุมชน การพึ่งตนเอง และแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความรู้ ผลการวิจัย พบว่า ทรัพยากรทางศิลปะการแสดงโนรา เกิดขึ้นและดํารงอยู่ในตําบลมานาน กว่า ๑๐๐ ปี ส่วนทรัพยากรทางศิลปะการแสดงหนังลุงเกิดขึ้นและดํารงอยู่ในตําบลไม่น้อยกว่า ๘๐ ปี มีประวัติบอกเล่าเกี่ยวกับทรัพยากรทางศิลปะการแสดงโนรา – หนังลุงของฅนในตําบล ทรัพยากรทางศิลปะการแสดงโนรา ปรากฏ ๘ ลักษณะ คือ โนราแสดง โนราพิธีกรรม โนราโบราณหรือโนราดั้งเดิม โนราร่วมสมัย โนราประยุกต์ โนราเดี่ยว โนราแท้จริง และโนราเทียม ส่วนทรัพยากรทางศิลปะการแสดงหนังลุง ปรากฏ ๕ ลักษณะ คือ การแสดงหนังลุงแบบพากษ์สด การแสดงหนังลุงแบบพากย์เทป การแสดงหนังลุงในรูปแบบทอล์คโชว์ การแสดงหนังลุงแบบหนังคน และการแกะ รูปหนัง ทรัพยากรทางศิลปะการแสดงทั้งสอง มีความเชื่อ พิธีกรรมเกี่ยวกับครูหมอและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มีบทกลอนทั้งแบบดั้งเดิมและการสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ การแต่งกายของโนราและเครื่องดนตรีเป็นไปตามรูปแบบดั้งเดิม ส่วนหนังลุงมีรูปหนังทั้งแบบดั้งเดิม แบบใหม่ และงานสร้างสรรค์ เครื่องดนตรีมีทั้งแบบเดิมและผสมผสานเครื่องดนตรีสมัยใหม่ ปัจจุบันมีผู้รู้ในตําบลไม่น้อยกว่า ๑๔๒ คน มีการเคลื่อนไหวตลอดมาทั้งรุ่งเรืองและซบเซา การจัดการจากอดีตถึงปัจจุบันเกิดขึ้นหลากหลายแตกต่างกันไปตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงปรากฏใน ๔ ช่วงพัฒนาการ คือ ช่วงแรก เป็นช๋วงของการเริ่มมีทรัพยากรทางศิลปะการแสดง เป็นช่วงของการเสพความสุข สนุกสนานบนความชื่นชอบ และการมีความเชื่อต่อครูหมอ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และการสืบทอดสิ่งเหล่านี้แก่ลูกหลาน ช่วงที่สอง เป็นช่วงก่อเกิดศิลปินของทรัพยากรทางศิลปะการแสดงในตําบล โดยโนราคนแรก คือ “โนราเล็ก” และขยายผลเกิดศิลปิน ผู้รู้โนราตามมาจํานวนไม่น้อย ขณะที่หนังลุง ปรากฏทั้งศิลปินนายหนัง คือ “หนังเส็น ฟักหมัด” ละช่างแกะรูปหนัง คือ “นายอิ่ม จันทร์ชุม” ช่วงที่สาม เป็นช่วงพลวัตของทรัพยากรทางศิลปะการแสดงโนรา-หนังลุงที่มีทั้งการเคลื่อนไหวแบบเข้มข้น ไม่ว่าจะเป็นการอนุรักษ์ การสืบทอด การสร้างสรรค์ใหม่ รวมถึงการประยุกต์ใช้ในงานพัฒนา และภาวะแห่งการซบเซา และช่วงสุดท้ายในปัจจุบัน การดํารงอยู่และปรับตัวของทรัพยากรทางศิลปะการแสดงโนรา – หนังลุง คือ ทรัพยากรทางศิลปะการแสดงโนรามีลักษณะของการประคับประคองและรักษาความเป็นโนราของกลุ่มคนโนราในภาวะใกล้หยุดนิ่งขณะที่ทรัพยากรทางศิลปะการแสดงหนังลุงมีลักษณะของการดํารงอยู่และการประยุกต์สร้างสรรค์ของทรัพยากรทางศิลปะการแสดงหนังลุง การจัดการทรัพยากรทางศิลปะการแสดงท้องถิ่นเกิดขึ้นทั้งด้านบันเทิง พิธีกรรม งานสร้างสรรค์ การอนุรักษ์ การฟื้นฟู การสืบทอด การประยุกต์ใช์ และเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาชุมชน สร้างคุณูปการมากมายแก่ชุมชนทั้งความสบายใจ ความสุนทรีย์ สนุกสนาน เป็นที่พึ่งทางใจ เป็นศูนย์รวมจิตวิญญาณ คลายทุกข์ สร้างอัตลักษณ์ สร้างความเป็นหมู่พวกเดียวกันบนฐานกลุ่มทางวัฒนธรรม สร้างความเป็นชุมชน สร้างความภาคภูมิใจ สร้างอาชีพ และแสดงถึงการมีพลัง ของชุมชน แต่ขณะเดียวกันการจัดการยังเกิดภาวะอ่อนแอในปัจจุบัน ทั้งการบูรณาการกับวิถีชุมชนที่เปลี่ยนไปยังเกิดขึ้นน้อย ความนิยมที่เปลี่ยนไป การหมดกําลังใจของ “ฅนใน” และการไม่สามารถพึ่งตนเองได้ในทุกมิติ ซึ่งนํามาสู่การดําเนินกิจกรรมและการเคลื่อนไหวที่ลดน้อยลง รูปแบบการจัดการจัดการทรัพยากรทางศิลปะการแสดงโนรา – หนังลุงที่เหมาะสมเพื่อชุมชน ของตําบลท่ามะเดื่อ อําเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง ได้ดําเนินการได้ ๒ ลักษณะ คือ ๑. การจัดการในรูปแบบกิจกรรมความเป็นศิลปะการแสดงทั้งด้านความบันเทิง พิธีกรรม และงานสร้างสรรค์ โดยสามารถจัดการได้ใน ๓ ระดับ คือ ๑) ระดับบุคคล / ครอบครัว ผ่านการสืบทอด ฝึกหัด ผลิตงานสร้างสรรค์ / สินค้าทางวัฒนธรรม ๒) ระดับชุมชน ผ่านกาสร้างคณะชุมชน พิธีกรรมชุมชน หลักสูตรชุมชน เป็นต้น ๓) ระดับตําบล เป็นคณะตําบล พิธีกรรมตําบล หลักสูตรท้องถิ่น สินค้า / งานสร้างสรรค์ และชื่อมเครือข่ายกัลญาณมิตร ๒. การจัดการในรูปแบบพื้นที่เรียนรู้ทางศิลปะการแสดงสามารถแบ่งได้ ๓ ระดับ เช่นเดียวกัน คือ ๑) ระดับบุคคล / ครอบครัว ในลักษณะพื้นที่เรียนรู้ในบ้าน ๒) ระดับชุมชน ในลักษณะพื้นที่เรียนรู้ / พิพิธณฑ์โนรา – หนังลุงของชุมชน ๓) ระดับตําบล พื้นที่เรียนรู้ / พิพิธภัณฑ์โนรา – หนังลุงของตําบล ซึ่งสามารถสร้างความเชื่อมโยงกันได้ทั้งหมด โดย สามารถจัดการได้หลายมิติทั้งมิติศิลปะการแสดง การศึกษาเรียนรู้ สุขภาพ สังคม การท่องเที่ยวเศรษฐกิจ การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม และการพัฒนาชุมชน ผ่านการจัดการร่วมกันทั้งจากฅนในชุมชน ตําบล และฅนหรือหน่วยงานภายนอกที่จะเป็นผู้หนุนเสริม ซึ่งสามารถดําเนินการเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ตามสภาพการณ์และความพร้อมของพื้นที่
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1047
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:HUMAN: Research Reports

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
วิจัยเรื่องการจัดการทรัพยากรทางศิลปะการ.pdf8.04 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น