กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1042
ชื่อเรื่อง: บทบาทและภาพลักษณ์ของนักการเมืองสตรีระดับท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งของประชาชน ในเขตพื้นที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Roles And Image Of Local Women Politicians Influencing The Voting Decisions Of Residents In Chaiya District, Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรธิดา ช่วยสำราญ
สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม
ไชยวัฒน์ เผือกคง
คำสำคัญ: ภาพลักษณ์ของนักการเมือง
นักการเมืองสตรี
การตัดสินใจเลือกตั้ง
วันที่เผยแพร่: 14-พฤศ-2566
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: บทความ, การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาททางการเมืองของสตรีต่อการดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของนักการเมืองสตรีระดับท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง และ 3) แนวทางการพัฒนาบทบาทและภาพลักษณ์ทางการเมืองของนักการเมืองสตรีที่มีผลต่อการเลือกตั้งเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายจากประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตพื้นที่อำเภอไชยา จำนวน 396 คน ใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.957 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บข้อมูล เชิงคุณภาพ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง นักการเมืองระดับท้องถิ่น ผู้ที่มีบทบาท ทางการเมืองระดับท้องถิ่น จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลวิจัยโดยการตีความ หาข้อสรุปเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาททางการเมืองของสตรีต่อการดำรงตำแหน่ง ทางการเมือง ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาเชิงสร้างสรรค์ ด้านการประสานงานเป็นคนกลาง ด้านความโปร่งใส และด้านการบริหาร 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของนักการเมืองสตรีระดับท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้ง ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านบุคลิกภาพ ด้านการมีมนุษยสัมพันธ์ ด้านการทำงานภายใต้กรอบของคุณธรรม จริยธรรม และกฎหมาย และด้านผลงาน/การบริหารงาน และ 3) แนวทางการพัฒนาบทบาทและภาพลักษณ์ทางการเมืองของนักการเมืองสตรีที่มีผลต่อการเลือกตั้งเป็นการสร้างบุคลิกเป็นคนที่มีรูปลักษณ์ดูดี มีภูมิฐาน มีความน่าเชื่อถือ การเปิดใจรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง การเปิดเผยข้อมูล เปิดโอกาสให้ประชาชนร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมตรวจสอบ การใช้จุดเด่นของสตรีที่มีความอ่อนโยน ใช้จุดเด่นตรงนี้ในการพัฒนาภาพลักษณ์ให้มีความเป็นกันเอง เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับประชาชน
รายละเอียด: บทความ, การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1042
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Politics and Government : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is_POL66 Phornthida.pdfบทความ, การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี1.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น