กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1037
ชื่อเรื่อง: ปัญหาที่มาของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Problems Regarding the Source of the Administrators in the Special Form of Local Government Administration
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชินชัยพงศ์ ทิพย์ภักดี
อัคคกร ไชยพงษ์
คำสำคัญ: ที่มาผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
ทฤษฎี นิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยา
หลักความชอบธรรมทางประชาธิปไตย
วันที่เผยแพร่: 16-กัน-2566
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับที่มาของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษของประเทศไทย 2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่มาของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษในต่างประเทศ และประเทศไทย 3) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่มาของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษของประเทศไทย โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ซึ่งศึกษาจากเอกสารเป็นสำคัญ โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาวิเคราะห์ และเรียบเรียงในรูปแบบพรรณนาความ เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหาที่มาของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า 1) ที่มาของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษของประเทศเสรีประชาธิปไตยส่วนใหญ่มาจาก 3 วิธีการ คือ การเลือกตั้งจากประชาชน การแต่งตั้ง และการว่าจ้างผู้มีความเป็นมืออาชีพเข้ามาบริหาร 2) พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 กำหนดให้ประเทศไทยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ อยู่ด้วยกัน 2 แห่ง คือ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา โดยผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษทั้งสองแห่งนี้มาจาก การเลือกตั้งของประชาชน การที่มาตรา 252 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติว่า “...ผู้บริหารท้องถิ่นให้มาจากการเลือกตั้งหรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น หรือในกรณีองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ จะให้มาโดยวิธีอื่นก็ได้ แต่ต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ...” จึงอาจถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางทุจริตของกลุ่มคนบางกลุ่มโดยเฉพาะกลุ่มผู้มีอำนาจปกครองรัฐ อันเป็นความไม่ชอบธรรมทางประชาธิปไตยผ่านตัวบทกฎหมาย ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากการตรากฎหมายขัดแย้งกับทฤษฎีนิติศาสตร์เชิงสังคมวิทยาที่มุ่งหมายให้การตรากฎหมายนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม 3) แนวทางในการแก้ไขปัญหา คือ เห็นควรให้มีการแก้ไขมาตรา 252 จากเดิมที่กำหนดให้ “ให้มาโดยวิธีการอื่นได้” เปลี่ยนมาเป็น “ให้มาจากการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว” และขยายความ “รัฐเดี่ยว” ที่ปรากฏในมาตรา 1 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ให้มีความเป็นเป็นรัฐเดี่ยวที่เอื้อต่อการปกครองตนเอง มุ่งเน้นการกระจายอำนาจ อีกทั้งควรเพิ่มบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่รับรองให้ประชาชนสามารถลงประชามติกำหนดรูปแบบโครงสร้างการบริหารท้องถิ่นของตนได้
รายละเอียด: บทความการค้นคว้าอิสระนิติศาสตรหาบัณฑิต
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1037
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Laws : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is66law_Chinchaipong.pdfบทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรหาบัณฑิต731.42 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น