กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1034
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดของรัฐภายใต้กฎอัยการศึก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal Issues Related To State Liability Under Martail Law
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรเพชร ชูเพ็ง
จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ
คำสำคัญ: ความรับผิดของรัฐ
กฎอัยการศึก
ละเมิด
วันที่เผยแพร่: 1-กัน-2566
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับความรับผิดของรัฐภายใต้กฎอัยการศึกของต่างประเทศและราชอาณาจักรไทย 2) ศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดของรัฐภายใต้กฎอัยการศึกของต่างประเทศและราชอาณาจักรไทย 3) ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดของรัฐภายใต้กฎอัยการศึกตามพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457 โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ กล่าวคือศึกษาจากเอกสารเป็นสำคัญ อาทิ ศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากกฎหมาย ประกาศ คำสั่ง ของกองทัพ หนังสือ เอกสาร งานนิพนธ์ ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต เอกสารทางวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศนำมาศึกษาวิเคราะห์ ตามขอบเขตของการศึกษาและนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเหล่านั้น มาเรียบเรียงในรูปแบบพรรณนาความ เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดของรัฐภายใต้กฎอัยการศึกในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดของรัฐภายใต้กฎอัยการศึกคือ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457 ได้มีการบัญญัติตามมาตรา 16 ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ห้ามมิให้บุคคลหรือบริษัทใด ๆ เรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าปรับอย่างหนึ่งอย่างใดจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ซึ่งเมื่อมีการประกาศใช้กฎอัยการศึก อำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีหลายประการ การใช้อำนาจดังกล่าวอาจสร้างความเสียหายแก่เอกชนได้ ซึ่งตามมาตรา 16 ที่ได้บัญญัติไว้ทำให้ผู้เสียหายไม่สามารถฟ้องร้องค่าเสียหายได้ แต่โดยหลักแล้วรัฐควรรับผิดต่อความเสียหายชดใช้ผลแห่งความเสียหายดังกล่าวให้แก่เอกชนผู้ที่ได้รับความเสียหายซึ่งเป็นไปตามหลักความรับผิดโดยปราศจากความผิดของฝรั่งเศส โดยหลักการในการชดใช้นั้นต้องมาจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารที่ได้รับการแต่งตั้งและมีอำนาจในการบังคับใช้กฎอัยการศึก และหน่วยงานทางปกครองต้องรับผิดในลักษณะละเมิด หรือความรับผิดอย่างอื่น ข้อเสนอแนะจากการศึกษา คือ 1) ก่อนแก้ไขกฎหมายกรณีที่ผู้เสียหายฟ้องคดีแก่ศาลปกครองในเรื่องเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารกระทำละเมิด ศาลปกครองควรพิจารณาคดีในเรื่องหลักความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ หากศาลปกครองเห็นว่าการกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่เข้าองค์ประกอบความรับผิดทางละเมิด ศาลปกครองควรนำหลักความรับผิดโดยปราศจากความผิดของประเทศฝรั่งเศสมาปรับใช้ในการพิจารณา 2) แก้ไขพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457 ในมาตรา 16 “ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใด ในเรื่องการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารตามที่ได้กล่าวมาแล้วในมาตรา 8 และมาตรา 15 กระทรวง กลาโหมจะชดใช้ค่าเสียหายหรือเยียวยาตามสมควรแก่กรณีเมื่อยกเลิกการประกาศใช้กฎอัยการศึก...” 3) หลักเกณฑ์ในการชดใช้หรือเยียวยา หากไม่มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติไว้ ศาลควรพิจารณาจากความเสียหายตามความเป็นจริง ที่ผู้เสียหายได้รับ สำหรับการชดใช้หรือเยียวยาที่มีกฎหมายเฉพาะได้บัญญัติไว้ ให้ศาลพิจารณาชดเชยตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ได้บัญญัติไว้
รายละเอียด: บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1034
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Laws : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is66law_Worapetch.pdfบทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต723.19 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น