กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/982
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอรอุมา ชูแก้วen_US
dc.contributor.authorสุพัฒพงศ์ แย้มอิ่มen_US
dc.contributor.authorอัศว์ศิริ ลาปีอีen_US
dc.date.accessioned2022-12-09T07:50:53Z-
dc.date.available2022-12-09T07:50:53Z-
dc.date.issued2565-12-09-
dc.identifier.citationบทความ, การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครองen_US
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/982-
dc.descriptionการค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติต่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2. เพื่อศึกษาการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติต่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ในเขตอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 3. เพื่อนำเสนอแนวทางใน การพัฒนาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติต่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 คน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 36 – 45 ปี ศึกษาในระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพ รับจ้าง/ค้าขาย มีรายได้ 10,001-30,000 บาท ผลการวิเคราะห์ พบว่า 1) บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติต่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (โดยรวม) มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.07, S.D. = 0.27) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อ ได้แก่ การจัดการมูลฝอยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 รองลงมา การควบคุม กำกับ ดูแลสุขลักษณะ สถานประกอบการและกิจการและการสื่อสารให้ความรู้คำแนะนำกับประชาชน ตามลำดับ 2) การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติต่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (โดยรวม) มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.23, S.D. =0.38) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกข้อ ได้แก่ การก่อตัวของนโยบาย (Policy Formation) รองลงมาขั้นตอนความต่อเนื่อง/การทดแทน/สิ้นสุด/ปรับปรุง ขั้นตอนการกำหนดนโยบายสาธารณะและขั้นตอนการนำนโยบายไปปฏิบัติ ตามลำดับ และ 3) ผลการวิเคราะห์จากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 คน ได้สรุปการนำเสนอแนวทางในการพัฒนาบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติต่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีกระบวนการจัดการตามมาตรการฉุกเฉินและมีหน่วยงานภาคี ที่เกี่ยวข้องเข้ามาส่งเสริมการควบคุมและการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเพื่อให้ชุมชนประชาชนเกิดการตื่นตัวและสามารถดูแลตนเองตามข้อระเบียบที่กำหนด ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวมกับการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติมีความสัมพันธ์ทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.sponsorshipบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.subjectบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นen_US
dc.subjectการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติen_US
dc.subjectโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019en_US
dc.titleบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติต่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตอำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.title.alternativeThe Role of local government organizations in implementing public policy for the prevention of Coronavirus epidemic 2019 in Khian Sa District, Surat Thani Provinceen_US
dc.typeArticleen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Politics and Government : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is_pol Ornuma65.pdfบทความ889.55 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น