กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/975
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorภาวิณี เจนุโรen_US
dc.contributor.authorสุพัฒพงศ์ แย้มอิ่มen_US
dc.contributor.authorวาสนา จาตุรัตน์en_US
dc.date.accessioned2022-08-24T01:24:23Z-
dc.date.available2022-08-24T01:24:23Z-
dc.date.issued2565-08-24-
dc.identifier.citationการค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครองen_US
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/975-
dc.descriptionการค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง (บทความ)en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้นำสตรีในบริบทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 2) ศึกษาการยอมรับ ผู้นำสตรีในบริบทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทและการยอมรับผู้นำสตรีในบริบทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และ 4) เป็นแนวทางการพัฒนาในการยอมรับบทบาทผู้น าสตรีในบริบทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในตำบลบางใบไม้ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล จากประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลบางใบไม้ จำนวน 322 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือเก็บรวมรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและมีประสบการณ์ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 13 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ ได้แก่ วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหพันธ์แบบเพียร์สัน และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับ ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทผู้นำสตรีในบริบทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลบางใบไม้ มีความคิดเห็นในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) การยอมรับผู้นำสตรีในบริบทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลางยกเว้นด้านการพัฒนาหมู่บ้าน ตำบล อยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทผู้นำสตรีและการยอมรับผู้นำสตรี พบว่า ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ ด้านความสามารถ และด้านความสำเร็จ มีระดับความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง และ 4) แนวทางการพัฒนาในการยอมรับบทบาทผู้นำสตรีในบริบทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในตำบลบางใบไม้ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี คือ 1) แนวทางด้านภาวะผู้นำ ผู้นำสตรี ที่ได้รับการยอมรับ ต้องสร้างกิจกรรมและผลงานที่เอื้อประโยชน์ต่อประชาชน 2) ด้านวิสัยทัศน์ ผู้นำสตรีต้องมีวิสัยทัศน์จะทำให้ชาวบ้านเกิดความศรัทธาและเชื่อมั่นในตัวผู้นำ 3) ด้านการประสานงาน ผู้นำสตรีต้องแสวงหาเครือข่ายมาสร้างกิจกรรมในการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนen_US
dc.description.sponsorshipบัณฑิตวิทยาลัย และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.subjectการยอมรับen_US
dc.subjectบทบาทผู้นำสตรีen_US
dc.subjectบริบทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้านen_US
dc.titleการยอมรับบทบาทผู้นำสตรีในบริบทของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรณีศึกษา : ในตำบลบางใบไม้ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.title.alternativeAcceptance of female leaders' roles in the context of village headmen, case studies: in Bang Bai Mai Sub-district, Mueang District, Surat Thani Provinceen_US
dc.typeArticleen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Politics and Government : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is_pol65_Pawinee.pdfบทความ1.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น