กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/972
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorชวณัฐ หาญโสดาen_US
dc.contributor.authorนัฎจรี เจริญสุขen_US
dc.contributor.authorชูศักดิ์ เอกเพชรen_US
dc.date.accessioned2022-08-23T02:23:21Z-
dc.date.available2022-08-23T02:23:21Z-
dc.date.issued2565-08-22-
dc.identifier.citationสาขาวิชาการบริหารการศึกษาen_US
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/972-
dc.descriptionการค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการใช้แหล่งเรียนรู้ภายในจังหวัดระนอง สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) พัฒนาคู่มือการใช้แหล่งเรียนรู้ภายในจังหวัดระนอง สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) ประเมินความเหมาะสมของคู่มือแหล่งเรียนรู้ภายในจังหวัดระนองสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ระเบียนวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา ซึ่งการวิจัยมี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1 ศึกษาสภาพการใช้แหล่งเรียนรู้ภายในจังหวัดระนอง สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง จำนวน 262 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาคู่มือแหล่งเรียนรู้ภายในจังหวัดระนองสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน พิจารณาค่าดัชนีความสอดคล้องของหลักสูตร ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความเหมาะสมของคู่มือแหล่งเรียนรู้ภายในจังหวัดระนอง สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้างานบริหารวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระนอง จำนวน 66 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาสภาพการใช้แหล่งเรียนรู้ภายในจังหวัดระนอง สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านวิธีดำเนินการใช้แหล่งเรียนรู้ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากแหล่งเรียนรู้ ด้านรูปแบบการใช้แหล่งเรียนรู้ และด้านปริมาณการใช้แหล่งเรียนรู้ภายในจังหวัดระนอง 2) การพัฒนาคู่มือแหล่งเรียนรู้ภายในจังหวัดระนอง สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าความเหมาะสมขององค์ประกอบของคู่มือแหล่งเรียนรู้ภายในจังหวัดระนอง สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 -1.00 แสดงว่าคู่มือแหล่งเรียนรู้ภายในจังหวัดระนอง สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสอดคล้องกับเนื้อหาสามารถนำไปใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ 3) ผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือแหล่งเรียนรู้ภายในจังหวัดระนอง สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า คู่มือแหล่งเรียนรู้ภายในจังหวัดระนองสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมในการนำไปใช้en_US
dc.description.sponsorshipบัณฑิตวิทยาลัย และคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherการค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.subjectการพัฒนาคู่มือen_US
dc.subjectแหล่งเรียนรู้en_US
dc.subjectจังหวัดระนองen_US
dc.titleการพัฒนาคู่มือแหล่งเรียนรู้ภายในจังหวัดระนอง สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานen_US
dc.title.alternativeThe Development of A Manual of Learning Resources in Ranong Province for Basic Education Schoolsen_US
dc.typeArticleen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is_adm65_Chawanut.pdf750.94 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น