กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/959
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorญาเรศ ทรงรัตนพันธุ์en_US
dc.contributor.authorนพดล ทัดระเบียบen_US
dc.date.accessioned2022-07-25T04:29:43Z-
dc.date.available2022-07-25T04:29:43Z-
dc.date.issued2565-07-22-
dc.identifier.citationสาขาวิชานิติศาสตร์en_US
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/959-
dc.descriptionการค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีen_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายและแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับการกำหนดค่าเสียหายทางระบบนิเวศจากการล่าสัตว์ป่า ทั้งกฎหมายไทย และกฎหมายต่างประเทศ สำหรับประเทศไทย ยังคงใช้หลักการกำหนดค่าเสียหายตามความเป็นจริงตามหลักกฎหมายละเมิดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่ด้วยลักษณะพิเศษของคดีสิ่งแวดล้อมที่ต่างกับคดีละเมิด จึงส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เนื่องจากการสูญเสียทรัพยากรแต่ละครั้งที่ไม่เท่ากัน การคิดค่าเสียหายไม่ควรกำหนดกรอบไว้ควรให้ศาลใช้ดุลพินิจในการพิจารณากำหนดค่าเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติเอง อาจพิจารณาจากพฤติกรรมและการกระทำความผิดเป็นรายกรณีไป ดังนั้น จึงควรมีการแก้ไขกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการกำหนดค่าเสียหายทางระบบนิเวศจากการล่าสัตว์ป่า ดังนี้ 1) พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 100 อันเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 55 (5) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับนั้น เป็นอัตราค่าเสียหายที่ไม่อาจบังคับใช้ได้กับเหตุการณ์จริง ความสูญเสียทรัพยากรแต่ละครั้งอาจเกิดขึ้นไม่เท่ากัน จึงควรให้ศาลใช้ดุลพินิจในการนำหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษมาใช้กับกฎหมายสิ่งแวดล้อมของไทย และควรมีการวางหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเพราะหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษเป็นการให้ศาลใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายอีกประเภทหนึ่งเพิ่มขึ้นโดยแยกต่างหากจากค่าเสียหายตามความเป็นจริงเพื่อใช้ในการลงโทษจำเลย ป้องปรามบุคคลอื่นไม่ให้กระทำผิด และนำค่าเสียหายส่วนนี้กลับคืนสู่สังคมเพื่อเยียวยาความเสียหาย โดยเฉพาะกรณีที่ผู้กระทำจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติโดยมีพฤติการณ์ที่ไม่ใส่ใจถึงผลเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้อื่น 2) พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 มาตรา 87 ค่าเสียหายตามวรรคหนึ่ง ปัจจุบันกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช ยังมิได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการคำนวณมูลค่าทรัพยากรธรรมชาติ จึงควรให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช ควรเร่งออกกฎกระทรวงเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการเรียกค่าเสียหายทางสิ่งแวดล้อมของระบบนิเวศ และกรณีค่าเสียหายตามมูลค่าของสัวต์ป่า ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 25623) พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ตามมาตรา 96 และมาตรา 97 มิได้บัญญัติหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายไว้ต่างหาก และยังมิได้ให้คำนิยามของคำว่า “ทรัพยากรธรรมชาติ” และมูลค่าของทรัพยากรธรรมชาติ” ไม่ได้มีการนิยามให้ความหมายไว้ ส่งผลให้การบังคับใช้กฎหมายไม่มีประสิทธิภาพประสิทธิผล ไม่เหมาะสมกับยุคสมัยในปัจจุบัน เพื่อให้ก้าวทันสังคมในปัจจุบันจำเป็นต้องมีกฎหมายที่รัดกุม มีความเด็ดขาดไม่ก่อให้เกิดช่องว่างทางกฎหมาย ที่อาจเกิดผลเสียต่อการพิจารณาคดีและการพิจารณาลงโทษผู้กระทำความผิดได้ จึงควรมีการบัญญัติให้คำนิยามเพื่อปรับแก้ไขเกี่ยวกับบทบัญญัติหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายไว้ต่างหาก รวมทั้งวิธีการประเมินมูลค่าของทรัพยากรธรรมชาติไว้ด้วยen_US
dc.description.sponsorshipบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherการค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.subjectการกำหนดค่าเสียหายทางระบบนิเวศen_US
dc.subjectการล่าสัตว์ป่าen_US
dc.titleปัญหากฎหมายในการกำหนดค่าเสียหายทางระบบนิเวศจากการล่าสัตว์ป่าen_US
dc.title.alternativeLEGAL PROBLEMS IN DETERMINING ECOLOGICAL DAMAGE FROM WILD HUNTINGen_US
dc.typeArticleen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Laws : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is_laws65 Yarat.pdf7.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น