กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/947
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorลลิตา หาญโสดาen_US
dc.contributor.authorอัศว์ศิริ ลาปีอีen_US
dc.contributor.authorสุพัฒพงศ์ แย้มอิ่มen_US
dc.date.accessioned2022-06-24T01:23:48Z-
dc.date.available2022-06-24T01:23:48Z-
dc.date.issued2565-06-24-
dc.identifier.citationสาขาวิชาการเมืองการปกครองen_US
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/947-
dc.descriptionการค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการของผู้สูงอายุต่อการให้บริการ ด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตตามมาตรฐานที่กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนดในการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ 2) เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการในการให้บริการด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และ 3) เสนอแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุภายใต้ภารกิจการให้บริการขององค์การบริการส่วนตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สูงอายุที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง จำนวน 207 คน การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสนทนากลุ่ม จากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงกลวง จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ ได้แก่ สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุมีความต้องการในการให้บริการด้านการส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิต โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 4 ด้าน คือ ด้านรายได้ ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล ด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัว ผู้ดูแล และการคุ้มครอง และด้านนันทนาการ ส่วนระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านการสร้างบริการและเครือข่ายการเกื้อหนุน และด้านที่พักอาศัย 2) การเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการของผู้สูงอายุ จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า อายุ การอาศัยอยู่ร่วมกันภายในบ้าน การอุปการะเลี้ยงดูผู้อื่น การมีผู้อุปการะเลี้ยงดู โรคประจำตัว ระดับการศึกษา และอาชีพ ที่แตกต่างกัน มีความต้องการในการให้บริการด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุที่ต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) แนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ได้แก่ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน ภาคีเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการระดมความคิดเห็น โดยให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับนโยบาย การวางแผน และระดับบริหาร เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้สูงอายุ ควรเพิ่มงบประมาณในการจัดโครงการส่งเสริมอาชีพ และควรสำรวจ ความต้องการของผู้สูงอายุหรือครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุในการอบรมฝึกอาชีพ ควรจัดอบรมให้ความรู้ ในการดูแลผู้สูงอายุโดยบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดให้มีรถฉุกเฉินในการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที ส่งเสริมให้มีกิจกรรมจิตอาสาในการดูแลผู้สูงอายุที่อาศัยโดยลำพัง จัดตั้งโรงเรียนและศูนย์สำหรับผู้สูงอายุ ตลอดถึงปรับสภาพที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้สูงอายุที่มีความลำบาก โดยบูรณาการร่วมกันระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลม่วงกลวงกับกรมกิจการผู้สูงอายุen_US
dc.description.sponsorshipบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherการค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.subjectความต้องการen_US
dc.subjectการส่งเสริมและพัฒนาen_US
dc.subjectคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุen_US
dc.titleการศึกษาความต้องการและแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนองen_US
dc.title.alternativeThe Study of Requirements and Guidelines for Promoting and Improving the Quality of Life of the Elderly of Muangkluang Subdistrict Administrative Organization, Kapoe District, Ranong Provinceen_US
dc.typeArticleen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Politics and Government : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is_pol65Lalita.pdf4.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น