กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/907
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสิชาภัทร พูลใหญ่en_US
dc.contributor.authorนัฎจรี เจริญสุขen_US
dc.contributor.authorชูศักดิ์ เอกเพชรen_US
dc.date.accessioned2022-01-25T05:20:25Z-
dc.date.available2022-01-25T05:20:25Z-
dc.date.issued2565-01-20-
dc.identifier.citationสาขาวิชาการบริหารการศึกษาen_US
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/907-
dc.descriptionการค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาen_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถและความต้องการพัฒนาครูในการผลิตสื่อวีดิทัศน์ 2) พัฒนาครูโดยการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในการผลิตสื่อวีดิทัศน์ และ 3) ประเมินผลความรู้ ความเข้าใจ และ ความพึงพอใจการพัฒนาครูในการผลิตสื่อวีดิทัศน์ โรงเรียนบ้านบางคอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ด้วยกระบวนการ PAOR ได้แก่ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติ (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) ใน 2 วงรอบ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูโรงเรียนบ้านบางคอย 10 คน คัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามความสามารถและความต้องการ พัฒนาครูในการผลิตสื่อวีดิทัศน์ 2) แบบทดสอบการพัฒนาครูในการผลิตสื่อวีดิทัศน์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจใน การพัฒนาครูในการผลิตสื่อวีดิทัศน์ และ 4) คู่มือการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูในการผลิตสื่อวีดิทัศน์ แนวทางใน การพัฒนา ได้แก่ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความสามารถและความต้องการพัฒนาในการผลิตสื่อวีดิทัศน์ พบว่า สื่อวีดิทัศน์ที่ครูเคยใช้มีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนหรือสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษาอยู่ในระดับ มากที่สุด แต่ครูส่วนใหญ่ไม่เคยผลิตสื่อวีดิทัศน์เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือสนับสนุนการบริหารจัดการ สถานศึกษา รวมทั้งขาดความรู้ความเข้าใจในการผลิตสื่อวีดิทัศน์ จึงไม่สามารถผลิตสื่อวีดิทัศน์ได้ นอกจากนี้ครูส่วนใหญ่ ต้องการเรียนรู้ในเรื่องการตัดต่อ การถ่ายทำ การเขียนบทในการผลิตสื่อวีดิทัศน์ และรองลงมาต้องการเรียนรู้ในเรื่อง การเตรียมการถ่ายทำ ขนาดภาพ มุมกล้องและตำแหน่งกล้อง แสงในการผลิตสื่อวีดิทัศน์ การบันทึกเสียง และการเคลื่อน กล้อง ตามลำดับ 2) ผลการพัฒนาครูโดยการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในการผลิตสื่อวีดิทัศน์ พบว่า ครูมีพฤติกรรม การเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการและการผลิตสื่อวีดิทัศน์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และคุณภาพของสื่อวีดิทัศน์ที่ครูได้ผลิต โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ผลการประเมินความรู้ ความเข้าใจ และความพึงพอใจการพัฒนาครูใน การผลิตสื่อวีดิทัศน์ พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยก่อนการพัฒนา 7.60 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 38.00 คะแนน เฉลี่ยหลัง การพัฒนา 17.00 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85.00 และความพึงพอใจของครูโรงเรียนบ้านบางคอยต่อการผลิตสื่อวีดทิ ัศน์ เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนหรือสนับสนุนการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดen_US
dc.description.sponsorshipบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherการค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.subjectการพัฒนาครูen_US
dc.subjectการผลิตสื่อวีดิทัศน์en_US
dc.subjectคู่มือการอบรมen_US
dc.subjectการวิจัยเชิงปฏิบัติการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี Graduate School, Suratthani Rajabhat University คลังเอกสารงานวิจัย SRU Intellectual Repositoryen_US
dc.titleการพัฒนาครูในการผลิตสื่อวีดิทัศน์ โรงเรียนบ้านบางคอย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1en_US
dc.title.alternativeTeacher Development in Video Production at Banbangkoi School under The Primary Educational Service Area Office Chumphon 1en_US
dc.typeArticleen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
adm_is65_sichaphat.pdf4.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น