กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/890
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorทิวาพร ฤกษ์ตุลาen_US
dc.contributor.authorพวงเพ็ญ ชูรินทร์en_US
dc.date.accessioned2021-09-27T07:08:19Z-
dc.date.available2021-09-27T07:08:19Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.citationการค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจen_US
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/890-
dc.descriptionการค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงาน 2) ศึกษาแนวทางการจัดการตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) ศึกษาความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน 4) ศึกษาสภาพการดำเนินงานที่ส่งผลต่อแนวทางการจัดการ 5) ศึกษาแนวทางการจัดการที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนพืชไร้สารพิษในจังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนพืชไร้สารพิษในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 222 คน โดยสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้แก่ ด้านผู้นำกลุ่ม ด้านการตลาด ด้านสมาชิก ด้านการจัดการ และด้านการเงิน 2) แนวทางการจัดการ ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการมีภูมิคุ้มกัน ด้านการมีความรู้ ด้านความพอประมาณ ด้านความมีเหตุผล และด้านคุณธรรม 3) ความยั่งยืน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดย 3 อันดับแรกได้แก่ ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมีกระบวนการผลิตที่ดี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม วิสาหกิจชุมชนช่วยให้ชุมชนพัฒนาทั้งเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม และกลุ่มมีฐานะทางการเงินดีขึ้น มีเงินออมเพิ่มขึ้นจากผลประกอบการที่ดี 4) สภาพการดำเนินงานที่ส่งผลต่อ แนวทางการจัดการ พบว่าการดำเนินงานที่ส่งผลต่อแนวทางการจัดการ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ได้แก่ด้านการจัดการ ด้านผู้นำกลุ่ม ด้านการตลาด และด้านการเงิน 5) แนวทางการจัดการที่ส่งผลต่อความยั่งยืน พบว่า แนวทางการจัดการที่มีความสัมพันธ์กับความยั่งยืน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ได้แก่ ด้านความพอประมาณ ด้านความมีเหตุผล และด้านการมีความรู้ โดยปัจจัยดังกล่าวสามารถพยากรณ์ความสัมพันธ์กับความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนพืชไร้สารพิษในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ร้อยละ 62.20 จากผลการวิจัย ความพอประมาณส่งผลต่อความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนอย่างมาก การจัดการจึงต้องเน้นการใช้วัตถุดิบและปัจจัยการผลิตในชุมชน กำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานให้ได้ผลกำไรเพียงพอในการดำรงอยู่ของกลุ่มและสมาชิก และเน้นการบริหารที่มีความเสี่ยงต่ำไม่ก่อหนี้สินเกินตัว เพื่อให้สามารถจัดการวิสาหกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืนต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipคณะวิทยาการจัดการ และบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherบัณฑิตวิทยาลัยen_US
dc.subjectแนวทางการจัดการen_US
dc.subjectวิสาหกิจชุมชนen_US
dc.subjectความยั่งยืนen_US
dc.titleแนวทางการจัดการเพื่อความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชนพืชไร้สารพิษ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.title.alternativeManagement Guidelines for Sustainability of Non-Toxic Plants Community Enterprises in Surat Thanien_US
dc.typeArticleen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is mba tiwaporn64.pdf826.01 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น