กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/823
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสายเพ็ญ บุญทองแก้วen_US
dc.date.accessioned2021-03-11T09:03:42Z-
dc.date.available2021-03-11T09:03:42Z-
dc.date.issued2563-
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/823-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางในการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับนักเรียน 2) สร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับนักเรียน และ 3) ศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 การวิจัยมี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับนักเรียน ตอนที่ 2 การศึกษาแนวการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพที่มีแนวทางการปฏิบัติที่ดี ตอนที่ 3 การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับนักเรียน และตอนที่ 4 การประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 จำนวน 127 คน และผู้บริหารในโรงเรียนที่มีแนวทางการปฏิบัติที่ดี จำนวน 5 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสัมภาษณ์แนวทางการปฏิบัติที่ดี แบบสอบถามการศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษา และ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าความเชื่อมั่น .97 และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 โดยรวมและรายด้าน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางในการบริหารพบว่า ด้านวิชาการ มีการพัฒนาหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ อาชีพในท้องถิ่น และความเปลี่ยนแปลงของสังคมมีการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริงและเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เปิดโอกาสให้ชุมชน หน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมทักษะอาชีพในโรงเรียน ด้านบริหารบุคคล มีการพัฒนาบุคลากรให้เอื้ออ านวยต่อการพัฒนาทักษะอาชีพนักเรียน ครูได้รับการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับทักษะอาชีพที่หลากหลาย ด้านงบประมาณ มีการวางแผนร่วมกับชุมชนในการใช้ทรัพยากร สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์หรือสื่อสำหรับการเรียนสอนอาชีพและการจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ ด้านการบริหารทั่วไปมีการส่งเสริมให้สถาบันอาชีวศึกษา สถานประกอบการ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 3) ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับนักเรียน พบว่า มี 4 องค์ประกอบ คือ (1) ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย การบริหารงานหลัก 4 งาน คือ งานวิชาการ งานงบประมาณ งานบุคคล และงานบริหารทั่วไป (2) กระบวนการ การบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ ใช้วงจรการบริหารคุณภาพ 4 ขั้นตอนคือ การวางแผน การลงมือปฏิบัติ การตรวจสอบ และการปรับปรุง (3) ด้านผลผลิต นักเรียนมีทักษะอาชีพ ประกอบด้วย ทักษะในการท างานและมีรายได้ระหว่างเรียน และ (4) เงื่อนไขความสำเร็จเป็นองค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย การสร้างเครือข่ายและการประสานงาน 4) ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบพบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.subjectการพัฒนารูปแบบen_US
dc.subjectการบริหารสถานศึกษาen_US
dc.subjectการพัฒนาทักษะอาชีพen_US
dc.titleการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนในโรงเรียนสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2en_US
dc.typeThesisen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdf9.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น