กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/628
ชื่อเรื่อง: | การบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | THE ADMINISTRATION OF STUDENT AFFAIRS OF SCHOOLS UNDER THE JURISDICTION OF SURATTHANI MUNICIPALITY |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สถาพร สังข์ขาวสุทธิรักษ์ บรรจง เจริญสุข กุสินา รอดทอง |
คำสำคัญ: | การบริหารงานกิจการนักเรียน การบริหารงานกิจการนักเรียนในโรงเรียน |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
บทคัดย่อ: | จากปัญหาคุณภาพการศึกษาของประเทศไทย ซึ่งเชื่อมโยงกับปัญหาคุณภาพผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการของการจัดการศึกษา การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี เปรียบเทียบการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนคร สุราษฎร์ธานี จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน และศึกษาข้อเสนอแนะในการบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี โดยประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียน ในสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ปีการศึกษา 2561 จำนวน 5 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นโรงเรียน ในสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จำนวน 5 โรงเรียน กำหนดให้ครูที่สอนในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี เป็นผู้ให้ข้อมูลในการตอบแบบสอบถาม จำนวน 125 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากโรงเรียนละเท่าๆกัน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การสถิติทดสอบ ได้แก่ การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า การบริหารงานกิจการนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านส่งเสริมประชาธิปไตย ด้านกิจกรรมนักเรียน ด้านการควบคุมความประพฤติและระเบียบวินัยนักเรียน ด้านการจัดบริการ แนะแนว ด้านการจัดบริการสุขภาพอนามัยนักเรียน ด้านระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบการบริหารงานกิจการนักเรียนของครูในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ที่มีประสบการณ์การทำงานที่ต่างกัน โดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยนี้โรงเรียนควรวางแผนในการบริหารงานกิจการนักเรียนให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อทำให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ และสามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด |
URI: | http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/628 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Education Administration: Independent Study (IS) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
00 Cover_Kusina.pdf | 316.22 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
02 Abstract_Kusina.pdf | 474.3 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
04 Chapter 1_Kusina.pdf | 1.71 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
05 Chapter 2_Kusina.pdf | 8.81 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
06 Chapter 3_Kusina.pdf | 664.4 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
07 Chapter 4_Kusina.pdf | 2.44 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
08 Chapter 5_Kusina.pdf | 2.11 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
10 Appendix_Kusina.pdf | 7.59 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
09 Reference_Kusina.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น