กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1104
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ยุภาวดี แสงสุวรรณ์ | en_US |
dc.contributor.author | ธุวพล ทองอินทราช | en_US |
dc.contributor.author | วาสนา จาตุรัตน์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2025-07-04T01:17:28Z | - |
dc.date.available | 2025-07-04T01:17:28Z | - |
dc.date.issued | 2568-07-01 | - |
dc.identifier.citation | หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง | en_US |
dc.identifier.uri | http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1104 | - |
dc.description | การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้2) กระบวนการปฏิบัติตามนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 3) ผลสัมฤทธิ์ของนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2566-2567 กรณีศึกษา หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 45 ตำบลตันหยงมัสอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากข้าราชการและบุคลากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ของหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 45 จำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปเชิงพรรณนาเพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของนโยบายการบริหารพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้พ.ศ. 2566 - 2567 ของหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 45ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ งานควบคุมพื้นที่รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงของประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ เป็นปัจจัยสำคัญลำดับแรกในสถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่ 2) กระบวนการปฏิบัติตามนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ งานบูรณาการด้านความมั่นคงทางทหารความมั่นคงเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร ต้องมีขีดความสามารถในการปฏิบัติทางยุทธวิธีเพื่อให้สามารถตอบโต้และต่อต้านการปฏิบัติของกลุ่มผู้ก่อการร้ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสามารถป้องกันตนเองและประชาชนให้รอดพ้นจากการก่อเหตุการณ์ 3) ผลสัมฤทธิ์ของนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก่อให้เกิดการพัฒนาการบริหารจัดการทั้งบูรณาการการทำงานของรัฐทุกระดับ ทั้งมิติงานด้านความมั่นคงและมิติงานด้านการพัฒนาของการปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ | en_US |
dc.description.sponsorship | คณะมุนษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.subject | นโยบายการบริหาร | en_US |
dc.subject | การพัฒนาความขัดแย้ง | en_US |
dc.subject | ความมั่นคงชายแดนใต้ | en_US |
dc.title | ผลสัมฤทธิ์ของนโยบายการบริหารพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2566 - 2567 กรณีศึกษา หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 45 ตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส | en_US |
dc.title.alternative | The Achievement of Southern Border Province Development Administration Policy from 2023 - 2024 A Case Study of the 45th Ranger Regiment Task Force, Tan Yong Mas Sub-district, Rangae District, Narathiwat Province | en_US |
dc.type | Article | en_US |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Politics and Government : Independent Study (IS) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
is_yupawadee_POL68.pdf | บทความ, ยุภาวดี แสงสุวรรณ์ | 373.81 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น