กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1072
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorขวัญฤดี วัฒนกุลen_US
dc.contributor.authorอัคคกร ไชยพงษ์en_US
dc.date.accessioned2024-09-19T06:27:35Z-
dc.date.available2024-09-19T06:27:35Z-
dc.date.issued2567-09-19-
dc.identifier.citationบทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1072-
dc.descriptionการค้นตว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.description.abstractการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัญหาการป้องกันบังคับสูญหายจากการควบคุมตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐในความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด (2) มาตรการกฎหมายของประเทศไทย และต่างประเทศ ในการควบคุมบุคคลตัวไว้ในอำนาจรัฐและการป้องกันบังคับสูญหาย (3) เสนอแนะแนวทางป้องกันการบังคับสูญหายจากเหตุการควบคุมตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐในความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งนี้ ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพจากการศึกษาเอกสาร ผลการศึกษาพบว่า กติกาสากลระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ค.ศ. 1966 ข้อ 9 วรรคสามรับรองให้บุคคลที่ถูกควบคุมตัวไว้ในอำนาจรัฐจะต้องถูกนำตัวไปยังศาลโดยพลันภายในไม่เกิน 48 ชั่วโมง แต่ทว่าพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 มาตรา 11/6 วรรคหนึ่งกำหนดให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. สามารถควบคุมตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐในความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดไว้ ณ ที่ใดก็ได้เป็นเวลาถึง 72 ชั่วโมง โดยไม่ต้องนำตัวผู้ถูกควบคุมไปปรากฏตัวและขออนุญาตจากศาล อันแตกต่างไปจากวิธีการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 706-73 ของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ที่แม้กฎหมายจะกำหนดให้เจ้าพนักงานสามารถควบคุมตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐได้ยาวนานถึง 96 ชั่วโมง แต่จะต้องปฏิบัติภายใต้เงื่อนไข 4 ประการ ได้แก่ (1) จะต้องควบคุมตัวไว้ ณ สถานีตำรวจ (2) ต้องนำตัวผู้ถูกควบคุมตัวมาปรากฏตัวต่อหน้าพนักงานอัยการ หรือผู้พิพากษาไต่สวน (3) ต้องได้รับการอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากพนักงานอัยการ หรือผู้พิพากษาไต่สวน และ (4) ต้องบันทึกการดำเนินการตั้งแต่เริ่มการควบคุมเพื่อป้องกันการบังคับสูญหาย ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะโดยการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ. 2550 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 มาตรา 11/6 วรรคหนึ่ง ตามแบบอย่างของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 706-73 ของสาธารณรัฐฝรั่งเศสใน 2 ประเด็น ได้แก่ การกำหนดให้ศาลเข้ามาเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในการอนุญาตให้เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ควบคุมตัวบุคคลในคดีความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติด และการกำหนดให้นำเอามาตรการป้องกันการบังคับสูญหายตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 มาตรา 22 มาใช้บังคับกับการควบคุมตัว บุคคลในความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดen_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.subjectบังคับสูญหายen_US
dc.subjectความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดen_US
dc.subjectการควบคุมตัวen_US
dc.titleปัญหากฎหมายว่าด้วยการป้องกันบังคับสูญหายจากการควบคุมตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐ ในความผิดร้ายแรงเกี่ยวกับยาเสพติดen_US
dc.title.alternativeProblems with the law to prevent enforced disappearance from the detention of persons under state authority in serious drug-related offensesen_US
dc.typeArticleen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Laws : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is67 Khwanrudee_LAW.pdfบทความ, ขวัญฤดี วัฒนกุล719 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น