กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1071
ชื่อเรื่อง: | พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารต่อทัศนคติด้านการเมืองของประชาชน ในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Behavioral Exposure to NEWS on Political Attitudes of The People in Surat Thani Municipality |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ณปภัช ลอยชูศักดิ์ สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม อัศว์ศิริ ลาปีอี |
คำสำคัญ: | พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร การสื่อสารทางการเมือง ทัศนคติด้านการเมือง |
วันที่เผยแพร่: | 17-กรก-2567 |
สำนักพิมพ์: | บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี |
แหล่งอ้างอิง: | บทความ, การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารของประชาชน 2) ทัศนคติด้านการเมืองปัจจุบันของประชาชน 3) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อทัศนคติด้านการเมืองปัจจุบันของประชาชน และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารกับทัศนคติด้านการเมืองปัจจุบันของประชาชนในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที สถิติเอฟ และทำการทดสอบด้วย LSD วิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจงจากนักการเมืองท้องถิ่น นักวิชาการ สื่อมวลชน ผู้จัดทำเว็บไซต์และเพจในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ผู้ปฏิบัติงานด้านประชาสัมพันธ์ของภาครัฐ จำนวน 6 คน วิเคราะห์เนื้อหาโดยการตีความสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารของประชาชนในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีโดยรวมอยู่ในระดับน้อย เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ เปิดรับข่าวการเมืองจากสรยุทธ สุทัศนจินดา เรื่องเล่าเช้านี้ เว็บไซต์/เพจ/ทวิตเตอร์มติชนออนไลน์ และเว็บไซต์/เพจ/ทวิตเตอร์ไทยโพสต์ และจากหฤทัย ม่วงบุญศรี/อุ๊หฤทัย ม่วงบุญศรีแฟนคลับ 2) ทัศนคติด้านการเมืองปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยคือ การแสดงความคิดเห็น วิพากษ์ วิจารณ์ สถาบันพระมหากษัตริย์สามารถทำได้อย่างเปิดเผยและสร้างสรรค์ และการแสดงความคิดเห็น วิพากษ์ วิจารณ์การเมืองสามารถทำได้อย่างเปิดเผย การเลือกตั้งควรใช้บัตรใบเดียวในการเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ และนายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้งหากมีคุณสมบัติเหมาะสม และรัฐสภาลงมติแต่งตั้งด้วยเสียงส่วนใหญ่ 3) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ อาชีพ และระดับการศึกษาที่ต่างกันมีผลต่อทัศนคติด้านการเมืองปัจจุบันแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารกับทัศนคติด้านการเมืองปัจจุบัน พบว่า พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติด้านการเมืองปัจจุบันของประชาชนในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ทั้งนี้ในการเปิดรับข่าวสารทางการเมืองและทัศนคติด้านการเมืองนั้น ประชาชนยึดหลักเหตุและผล มีความเข้าใจการตีความทางกฎหมาย ความถูกต้องชอบธรรม ตลอดจนผู้ที่ได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากประเด็นทางการเมือง โดยจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันการรับรู้ความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชนเปิดกว้างมากขึ้น ประชาชนสามารถติดตามตรวจสอบการทำงานของภาครัฐผ่านสื่อต่าง ๆ ที่ตรงกับความต้องการของตน รัฐบาลจึงจำเป็นต้องใช้สื่อในการนำเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและส่วนรวม ลดการนำเสนอความคิดเห็นที่แตกต่าง เพื่อหลีกเลี่ยงความแตกแยกและสร้างจิตสำนึกที่ดี เข้าใจถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก |
รายละเอียด: | การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี |
URI: | http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1071 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Politics and Government : Independent Study (IS) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
is67 Napaphat_POL.pdf | บทความ, ณปภัช ลอยชูศักดิ์ | 1.18 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น