กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1059
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | กัณนพนธ์ ชูบำรุง | en_US |
dc.contributor.author | จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-04-10T03:59:21Z | - |
dc.date.available | 2024-04-10T03:59:21Z | - |
dc.date.issued | 2567-04-10 | - |
dc.identifier.citation | บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ | en_US |
dc.identifier.uri | http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1059 | - |
dc.description | การค้นคว้าอิสรหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 2) วิเคราะห์อำนาจการสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และ 3) หาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาอำนาจการสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาข้อมูลจากหนังสือ ตำรา บทความวิชาการ งานวิจัย และจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากพนักงานสอบสวนผู้มีอำนาจสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีจำนวน 8 คน ผลการศึกษาพบว่า 1) อำนาจในการสอบสวนคดีอาญาที่มีความสลับซับซ้อน หรือจำเป็นต้องใช้วิธีการสืบสวนสอบสวนเป็นพิเศษ หรืออาชญากรรมที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงเศรษฐกิจของรัฐ หากมีลักษณะการกระทำความผิดประการหนึ่งประการใดโดยนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการกระทำความผิด จึงอยู่ในความหมาย ทั้งในพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 มาตรา 21 (1) และบัญชีท้ายพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 และอยู่ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งเป็นกฎหมายทั่วไปในมาตรา 18 มาตรา 19 ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจ 2) แม้จะมีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติให้มีกองบัญชาการตำรวจปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และมีอำนาจสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีการกำหนดมูลค่าความเสียหายบางประการ ซึ่งปัจจุบันได้มีพระราชกำหนด มาตรการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 มาตรา 8 ให้พนักงานสอบสวนสังกัดสถานีตำรวจเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบทั่วราชอาณาจักร และคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง ก็เป็นเรื่องการบริหารราชการภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มิได้ตัดอำนาจพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษและพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ 3) ผู้ศึกษาจึงเสนอแนวทางที่เหมาะสมคือต้องแก้ไขความในมาตรา 21 (1) แห่งพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 โดยเพิ่มข้อความว่า “ที่มิได้อยู่ในความหมายตามมาตรา 3 “อาชญากรรมทางเทคโนโลยี” พระราชกำหนดมาตรการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566” และให้แก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 โดยเพิ่มเติมข้อความว่า “ที่มิได้อยู่ในอำนาจ การสอบสวนคดีพิเศษ” | en_US |
dc.description.sponsorship | คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.subject | การสอบสวน | en_US |
dc.subject | คดีอาชญากรรม | en_US |
dc.subject | อาชญากรรมทางเทคโนโลยี | en_US |
dc.title | ปัญหาทางกฎหมายในการสอบสวนคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี | en_US |
dc.title.alternative | Legal Problems on Investigation of Cybercrimes | en_US |
dc.type | Article | en_US |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Laws : Independent Study (IS) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
isLAW67_kanaphon.pdf | 1.76 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น