กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1053
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุภาพร ปิ่นทอง | en_US |
dc.contributor.author | จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-02-09T04:56:20Z | - |
dc.date.available | 2024-02-09T04:56:20Z | - |
dc.date.issued | 2567-02-08 | - |
dc.identifier.citation | บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.identifier.uri | http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1053 | - |
dc.description | การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของรัฐ 2) ศึกษามาตรการกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของรัฐ 3) ศึกษาแนวทางการคุ้มครองสิทธิ์ของผู้มีหลักประกันโดยอาศัย หลักความรับผิดอย่างอื่นของรัฐ ด้วยการศึกษาวิจัยคุณภาพ ในรูปแบบการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร ได้แก่ กฎหมาย หนังสือ ตำรา บทความวิชาการ คำพิพากษาของศาล และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยเรียบเรียงด้วยวิธีการพรรณนาความ ผลการศึกษาพบว่า แนวความคิดเกี่ยวกับความรับผิดอย่างอื่นของรัฐ เกิดขึ้นโดยการวินิจฉัยของสภาแห่งรัฐ ของสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยอาศัยทฤษฎีเสี่ยงภัยพิเศษและเพื่อสังคม และทฤษฎีความเสมอภาคของบุคคลต่อภาระสาธารณะ มีข้อพิจารณาสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ 1) เกิดความเสียหายแก่เอกชน 2) ความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายของหน่วยงานรัฐเพื่อบริการสาธารณะ และ 3) ไม่อาจหาผู้รับผิดจากผลความเสียหายนั้นได้ กรณีหลักความรับผิดอย่างอื่นของรัฐของราชอาณาจักรไทย ถูกรับรองไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง อนุมาตรา (3) แต่หลักการดังกล่าวยังปรากฏข้อจำกัดสำคัญ คือ ไม่มีหลักเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ในการพิจารณาทำให้ความคุ้มครองโดยอาศัยหลักความรับผิดอย่างอื่นของรัฐไม่อาจไปถึงบุคคลภายนอกที่ได้รับผลกระทบ ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ควรมีการนำหลักความรับผิดอื่นของรัฐจากหลักการทฤษฎีความเสมอภาคของบุคคลต่อภาระสาธารณะมาใช้ในคดีปกครอง 2) ควรเพิ่มเติมนิยามศัพท์ คำว่า ความรับผิดอย่างอื่นของฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่รัฐ ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 | en_US |
dc.description.sponsorship | บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.subject | ความรับผิดอย่างอื่นของรัฐ | en_US |
dc.subject | คำสั่งทางปกครอง | en_US |
dc.subject | ผู้มีหลักประกัน | en_US |
dc.title | การคุ้มครองสิทธิของผู้มีหลักประกันโดยอาศัยหลักความรับผิดอย่างอื่นของรัฐ ศึกษากรณี การเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ในที่ดิน | en_US |
dc.title.alternative | Protection of the rights of collateral persons based on other liability principles of the state: A case study of the revocation of land title deeds | en_US |
dc.type | Article | en_US |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Laws : Independent Study (IS) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
45.pdf | บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี | 1.94 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น