กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1046
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorจีรวรรณ ศรีหนูสุดen_US
dc.contributor.authorวนิษา ติคำen_US
dc.date.accessioned2023-12-14T05:05:40Z-
dc.date.available2023-12-14T05:05:40Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1046-
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่องวัฒนธรรมหมากและการจัดการหมากของตำบลบางสวรรค์ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) สำรวจ ศึกษา ลักษณะของหมากและการมีอยู่ของหมาก๒) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมหมากและการจัดการหมากของตำบลบางสวรรค์ในปัจจุบัน และ ๓) เพื่อศึกษาหารูปแบบการจัดการหมากที่นำไปสู่การเสริมสร้างคุณภาพชีวิต โดยการบูรณาการแนวคิดเกี่ยวกับหมาก วัฒนธรรม ภูมิปัญญา การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมเศรษฐกิจพอเพียง การพึ่งตนเอง การจัดการเชิงบูรณาการ คุณภาพชีวิต การพัฒนาที่ยั่งยืน และแนวคิดการพัฒนาของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาในกระบวนการวิจัย ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม การจัดเวที และการทำกิจกรรมร่วมกับฅนในชุมชนภายใต้กระบวนการเรียนรู้ กระบวนการมีส่วนร่วม ประโยชน์ร่วม อย่างบูรณาการและพึ่งตนเอง นำเสนอ ผลการวิจัยด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ๑) ลักษณะของหมากและการมีอยู่ของหมากในตำบลบางสวรรค์ ปัจจุบันมี ๓ สายพันธุ์ คือ หมากพื้นเมือง หมากพันธุ์ใหม่ และหมากป่า แต่เดิมนิยมปลูกพันธุ์พื้นเมืองโดยปลูกปะปนไม้อื่นและปลูกเป็นแนวเขตแดนเพื่อใช้ในครอบครัว ภายหลังปลูกเป็นสวนแยกต่างหาก ปัจจุบันมีการปลูกทุกชุมชนโดยเฉพาะบริเวณบ้าน สวน แต่มีจำนวนลดลงเนื่องจากปลูกพืชเชิงเดี่ยวมากขึ้น ๒) วัฒนธรรมหมากและการจัดการหมากของตำบลบางสวรรค์ในปัจจุบัน วัฒนธรรมหมากเกิดขึ้นผ่านการใช้ในชีวิตของผู้ฅนมาแต่อดีต ปัจจุบันคุณค่าของหมากมีมากขึ้นในฐานะพืชเศรษฐกิจสร้างรายได้เสริม ในมิติความสัมพันธ์ระหว่างฅนกับสิ่งเหนือธรรมชาติที่ใช้ในพิธีกรรม ความเชื่อ และประเพณียังคงอยู่อย่างอดีต ส่วนมิติความสัมพันธ์ระหว่างฅนกับฅนซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพ วิถีเศรษฐกิจพอเพียง ยังมีความชัดเจนอยู่เพียงแต่ลดน้อยลงไปบ้าง ขณะที่มิติความสัมพันธ์ระหว่างฅนกับธรรมชาติที่ใช้เป็นอาหารการกิน เป็นทรัพยากรในสวนผสมผสาน เป็นสิ่งของเครื่องใช้สร้างที่อยู่อาศัย ใช้รักษาโรค ลดน้อยลงมากในปัจจุบัน ด้านการจัดการหมากเป็นลักษณะของการ ส่งต่อ สืบทอดวิธีคิดจากบรรพบุรุษ การให้คุณค่า การใช้ประโยชน์ตามสมัยและความรู้ที่มีในรูปแบบการเรียนรู้ การอนุรักษ์ การผลิตซ้ำ และการจัดการความรู้ การจัดการทางเศรษฐกิจ การประยุกต์และสร้างสรรค์ การรวมกลุ่ม และการเชื่อมโยงกับภายนอก โดยฅนในตำบลดำเนินการเป็นหลักภายใต้ฐานคิดแห่งความพอเพียง ปัญหาสำคัญ คือ ค่านิยมที่เปลี่ยนไป การแทนที่ด้วยความรู้ เทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมถึงความรู้เรื่องหมากและการจัดการเชิงบูรณาการบนฐานความเหมาะสมกับวิถีชีวิตกำลังลดลง ๓) รูปแบบการจัดการหมากที่นำไปสู่การเสริมสร้างคุณภาพชีวิต เป็นรูปแบบที่ได้จากการสร้างกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมกับฅนในชุมชน ภายใต้การสังเคราะห์แนวคิดการพัฒนาของโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมร่วมกับปรากฏการณ์ของการจัดการหมากที่เกิดขึ้น ได้รูปแบบการจัดการหมากซึ่งสามารถดำเนินการภายใต้การปฏิบัติในชีวิตจริงและการสร้างกระบวนการเรียนรู้ใน ๒ รูปแบบ คือ ๑) รูปแบบการจัดการบนฐานชีวิตแบบองค์รวม/บูรณาการ/วัฒนธรรมหมาก ภายใต้การรักษา สืบทอด ต่อยอด ประยุกต์ สร้างสรรค์ ฟื้นฟู ทุกมิติให้เหมาะสมกับสภาพชุมชนและยุคสมัย สร้างการ “อยู่ได้ อยู่รอด อยู่ร่วม” และ ๒) รูปแบบแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมหมากในฐานะแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต บนฐานวิถีวัฒนธรรม ซึ่งสามารถดำเนินการได้อย่างเชื่อมโยงสัมพันธ์กันทั้ง ๒ รูปแบบen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.subjectวัฒนธรรมen_US
dc.subjectหมากen_US
dc.subjectวัฒนธรรมการจัดการหมากen_US
dc.titleวัฒนธรรมหมากและการจัดการหมากของตำบลบางสวรรค์ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.title.alternativeBetel Nut Culture and Betel Nut Management in Bang Sawan Sub-district, Phrasaeng District, Suratthani Province.en_US
dc.typeResearch Reporten_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:HUMAN: Research Reports

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
วิจัยเรื่องวัฒนธรรมหมากและการจัดการหมาก.pdf10.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น