กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1032
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสามารถ ศักดิ์แก้วen_US
dc.contributor.authorจิตรดารมย์ รัตนวุฒิen_US
dc.date.accessioned2023-09-16T10:28:19Z-
dc.date.available2023-09-16T10:28:19Z-
dc.date.issued2566-09-01-
dc.identifier.citationบทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์en_US
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1032-
dc.descriptionบทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฏีเกี่ยวกับหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ พื้นฐานของบุคคลในคดีอาญา เพื่อศึกษาหลักสิทธิของบุคคลที่ถูกหล่าวหาในคดีอาญาและอํานาจของเจ้าพนักงานในการเก็บลายนิ้วมือประวัติอาชญากรรม เพื่อศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการพิมพ์ลายนิ้วมือและสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลในทะเบียนประวัติอาชญากรรมของประเทศไทย โดยดําเนินการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ในลักษณะของการวิเคราะห์ เอกสาร(Documentary research) จากตัวบทกฎหมาย ตําราวิชาการ วิทยานิพนธ์ บทความจากวารสารหรือนิตยสารทางกฎหมาย เอกสารประกอบการสัมมนา และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรการทางกฎหมายการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลผู้ถูกกล่าวในคดีอาญากรณี การพิมพ์ลายนิวมือ ในชั้นพนักงานสอบสวน โดยใช้วิธีเขียนแบบพรรณนาความ จากการศึกษาพบว่า เมื่อเกิดคดีอาญาขึ้น พนักงานสอบสวนมีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทําได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหา เพื่อจะรู้ตัวผู้กระทําผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา ซึ่งกรณีมีความจําเป็นเพื่อการรวบรวมพยานหลักฐาน พนักงานสอบสวนมีอํานาจให้ทําการตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุ หรือเอกสารใดๆ รวมถึงลายพิมพ์นิวมือลายมือหรือลายเท้าได้ตามประมวลกฎหมายวิธพิจารณาความอาญา มาตรา 131,132 และมาตรา 132(1) โดยระเบียบสํานักงานตํารวจแห่งชาติว่าด้วยประมวลระเบียบการตํารวจแห่งชาติ ลักษณะที่ 32 การพิมพ์ลายนิ้วมือ พ.ศ. 2554 บทที่ 1 ข้อ 1 กําหนดให้ พนักงานสอบสวนมีหน้าที่จัดให้มีการพิมพ์ลายนิ้วมือ ผู้ต้องหาคดีอาญาทุกประเภทเว้นแต่คดีลหุโทษ คดีที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าลหุโทษ หรือความผิดตามกฎหมายว่าด้วยจราจรทางบก รวมทั้งความผิดตามกฎหมายอื่นๆ ซึ่งได้เปรียบเทียบปรับแล้ว โดยผลของกฎหมายดังกล่าว พนักงานสอบสวนจึงมีอํานาจในการสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญาพิมพ์ลายนิ้วมือ เพื่อพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกกล่าวหา อันเป็นคําสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย หากผู้ต้องหาขัดขืนไม่ยอมพิมพ์ลายนิ้วมือตามคําสั่งของเจ้าพนักงานแล้ว ย่อมมีความผิดฐานขัดขืนคําสั่งเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 อย่างไรก็ตาม การพิมพ์ลายนิ้วมือเป็นสิทธิพื้นฐานเฉพาะตัวของบุคคลไม่ต่างไปจากการลงลายมือชื่อ แต่ตราบใดที่ยังไม่มีคําพิพากษาว่าเป็นผู้กระทําผิดย่อมถือว่ายังเป็นผู้บริสุทธิ์ สิทธิดังกล่าวจึง ย่อมได้รับความคุ้มครอง ดังนั้น การออกคําสั่งให้พิมพ์ลายนิ้วมือของพนักงานสอบสวนจะต้องมีลักษณะตามมาตรา 132(1) ด้วย หากเป็นการสั่งให้พิมพ์ลายนิ้วมือไปก่อนโดยไม่เกี่ยวข้องกับความจําเป็นในการหาพยานหลักฐานของคดี ก็เท่ากับเป็นการออกคําสั่งโดยไม่เข้าเงื่อนไขของมาตรา 132(1) และเป็นคําสั่งที่เจ้าพนักงานไม่มีอํานาจ หรือหากเจ้าพนักงานออกคําสั่งโดยมีอํานาจ แต่ผู้ต้องหามีเหตุผลอันสมควรในการไม่ปฏิบัติตามก็ไม่ถือว่ามีความผิด จึงมีข้อเสนอแนะดังนี้ (1) ควรกําหนดให้มีการแยกทะเบียนประวัติที่ใช้จัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้ต้องหาหรือจําเลยออกเป็น ๒ ทะเบียน ได้แก่ ทะเบียนประวัติผู้ต้องหา และทะเบียนประวัติอาชญากร (2) การเปิดเผยประวัติอาชญากรหรือข้อมูลของจําเลยที่ศาลมีคําพิพากษาอันถึงที่สุดว่า ได้กระทําความผิด ควรพิจารณาตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง (3) ควรกําหนดข้อห้ามเปิดเผยข้อมูลการต้องหาคดีอาญา เว้นแต่เป็นกรณีที่จําเป็นต้องตรวจสอบเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกําหนด และ (4) ควรกําหนดระยะเวลาในการรายงานผลคดีถึงที่สุดของสถานีตํารวจแต่ละแห่งไปยังกองทะเบียนประวัติอาชญากรไว้ให้ชัดเจน โดยเริ่มนับระยะเวลาดังกล่าวตั้งแต่ได้รับรายงานผลคดีถึงที่สุดจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องen_US
dc.description.sponsorshipบัณฑิตวิทยาลัย และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.subjectสิทธิส่วนบุคคลen_US
dc.subjectผู้ถูกกล่าวหาen_US
dc.subjectลายพิมพ์นิ้วมือen_US
dc.titleมาตรการทางกฎหมายการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคลผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา กรณีการพิมพ์ลายนิ้วมือen_US
dc.title.alternativeThe legal measures on the criminal accused’s private righten_US
dc.typeArticleen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Laws : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is66law_SAMART.pdfบทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต818.82 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น