กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1031
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | พิชชาพร ธรรมปรีชา | en_US |
dc.contributor.author | อัคคกร ไชยพงษ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-09-16T10:22:57Z | - |
dc.date.available | 2023-09-16T10:22:57Z | - |
dc.date.issued | 2566-09-01 | - |
dc.identifier.citation | บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ | en_US |
dc.identifier.uri | http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1031 | - |
dc.description | บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาทางกฎหมายในการรอการลงโทษที่เหมาะสมกับบริบทสังคมไทย กรณีความผิดเกิดขึ้นจากการกระทำความผิดโดยประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย 2) เพื่อศึกษา แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการลงโทษในเชิงอรรถประโยชน์และหลักการของการรอการกำหนดโทษและการรอการลงโทษตามกฎหมายของประเทศไทยและต่างประเทศ 3) เพื่อเสนอแนวทางการรอการลงโทษที่เหมาะสมกับบริบทสังคมไทยกรณีศึกษา การกระทำความผิดโดยประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการค้นคว้าเอกสาร อาทิ ตัวบทกฎหมาย หนังสือ ตำรา บทความวิชาการ และข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยวิธีการเขียนแบบพรรณนาความ จากการศึกษาพบว่า 1) การพิจารณาคดีอาญาเกี่ยวกับโทษร้ายแรงส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ในการพิจารณาคดีจำเป็นต้องมีมาตรฐานและแนวทางเพื่อให้ผู้พิพากษาสามารถชี้แจงหรือให้เหตุผลในคำพิพากษานั้น ๆ ได้โปร่งใส เพื่อแสดงให้เห็นถึงปรัชญาของศาลในพิจารณาพิพากษาคดี ตลอดจนเพื่อให้ศาลสามารถมีหลักเกณฑ์ในการลงโทษในทิศทางเดียวกัน 2) จากผลการศึกษากฎหมายไทยและต่างประเทศพบว่า การพิจารณาคดีของศาลในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศฝรั่งเศส ศาลสามารถนำมาตรการลงโทษทางเลือกอื่นแทนการจำคุกได้โดยตรง โดยไม่ต้องอาศัยเงื่อนไขของคำพิพากษาให้รอการลงโทษเสียก่อนเหมือนกฎหมายไทย เป็นผลให้ศาลสามารถใช้ดุลพินิจกำหนดรูปแบบการลงโทษที่เหมาะสมเป็นรายบุคคลได้อย่างกว้างขวาง 3) ผู้ศึกษาจึงเสนอแนวทางการรอการลงโทษที่เหมาะสมกับบริบทสังคมไทย โดยในระดับนโยบายควรมีการปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายในการลงโทษทางเลือกอื่นแทนการจำคุกให้เหมาะสมเป็นรายบุคคล เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาสัดส่วนประเภทความผิดของแต่ละคดีอย่างเป็นรูปธรรมของแต่ละประเภทความผิดนั้น ๆ โดยควรนำเอารูปแบบโทษอาญาทางเลือก โทษอาญาเสริมของประเทศฝรั่งเศส และรวมถึงมาตรการลงโทษระดับกลางของประเทศสหรัฐอเมริกามาใช้บังคับเป็นแนวทางในการพัฒนาการรอการลงโทษให้แก่ผู้กระทำผิด กรณีกระทำการโดยประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายในด้านกฎหมาย โดยการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ให้มีมาตรการในเชิงโทษทางเลือกและในเชิงโทษระดับกลาง และการกำหนดมาตรการลงโทษและสัดส่วนในการลงโทษในแต่ละบุคคล โดยให้ศาลมีอำนาจกำหนดรูปแบบการลงโทษอื่น ๆ และคำนึกถึงสภาพเศรษฐกิจของแต่ละบุคคล เพื่อให้การลงโทษเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ศาลในการปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดตามกระบวนการยุติธรรมได้อย่างโปร่งใส | en_US |
dc.description.sponsorship | บัณฑิตวิทยาลัย และคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.subject | การรอการลงโทษ | en_US |
dc.subject | ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 | en_US |
dc.subject | การลงโทษในแต่ละบุคคล | en_US |
dc.title | มาตรการรอการลงโทษ กรณีศึกษา กระทำความผิดโดยประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | en_US |
dc.title.alternative | Measures for Suspended Punishment A Case Study of Negligent Offenses Causing Death to others | en_US |
dc.type | Article | en_US |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Laws : Independent Study (IS) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
is66law_Pitchapon.pdf | บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต | 805.62 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น