กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1025
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวชิราภรณ์ ปราชญ์อักษรen_US
dc.contributor.authorจิตรดารมย์ รัตนวุฒิen_US
dc.date.accessioned2023-09-16T09:51:33Z-
dc.date.available2023-09-16T09:51:33Z-
dc.date.issued2566-09-01-
dc.identifier.citationบทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์en_US
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1025-
dc.descriptionบทความการค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการหลอกลวงให้ทำธุรกรรมทางออนไลน์ 2) ความรับผิดทางกฎหมายเกี่ยวกับการหลอกลวงให้ทำธุรกรรมทางออนไลน์ 3) ข้อเสนแนะในการจัดการปัญหาการหลอกลวงให้ทำธุรกรรมทางออนไลน์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาเอกสารค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ ตำรา บทความวิชาการ งานวิจัยและเอกสาร โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์สังเคราะห์ และใช้วิธีเรียบเรียงแบบพรรณนาความเพื่อให้ทราบถึง ความรับผิดทางกฎหมายเกี่ยวกับการหลอกลวงให้ทำธุรกรรมทางออนไลน์ ผลการศึกษาพบว่า 1) การหลอกลวงให้ทำธุรกรรมทางออนไลน์แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ (1) ผู้ถูกหลอกลวงเป็นผู้กระทำการทางธุรกรรมทางการเงินด้วยตนเอง (2) ผู้ถูกหลอกลวงโหลดแอปพลิเคชั่นและถูกเข้าควบคุมโทรศัพท์ ซึ่งก่อให้เกิดผลความรับผิดในทางกฎหมายที่แตกต่างกัน 2) กฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดของบุคคลจากการหลอกลวงให้ทำธุรกรรมทางออนไลน์ ในทางอาญาผู้กระทำผิดมีความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา การนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ส่วนผู้สนับสนุนย่อมมีความผิดตามพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ส่วนความรับผิดทางแพ่งหากเป็นในกรณีที่ผู้เสียหายเป็นผู้ทำธุรกรรมทางการเงินด้วยตนเองแล้วถือว่าผู้เสียหายได้มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย แต่หากโทรศัพท์ถูกควบคุมจากบุคคลภายนอกแล้วผู้เสียหายไม่ได้มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหาย สถาบันการเงินเจ้าของบัญชีเงินฝากจึงต้องชดใช้เงินเต็มจำนวน 3) ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายให้สถาบันการเงินผู้เป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากสร้างระบบป้องกันการทำธุรกรรมทางการเงินให้จำกัดเฉพาะเจ้าของบัญชีเงินฝาก ส่วนข้อเสนอแนะ ในเชิงกฎหมายควรมีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการหลอกลวงให้ทำธุรกรรมทางออนไลน์โดยมีขอบเขตความรับผิด ทั้งในทางแพ่งและทางอาญาen_US
dc.description.sponsorshipบัณฑิตวิทยาลัย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.subjectความรับผิดทางกฎหมายen_US
dc.subjectการหลอกลวงen_US
dc.subjectธุรกรรมออนไลน์en_US
dc.titleความรับผิดทางกฎหมายเกี่ยวกับการหลอกลวงให้ทำธุรกรรมทางออนไลน์en_US
dc.title.alternativeLegal liability involved to cheating to have people in general perform transaction through onlineen_US
dc.typeArticleen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Laws : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is66law_Wachiraporn.pdfบทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต731.88 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น