กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1019
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอนุชา สโมทานen_US
dc.contributor.authorสุพัฒพงศ์ แย้มอิ่มen_US
dc.contributor.authorอัศว์ศิริ ลาปีอีen_US
dc.date.accessioned2023-05-23T02:04:08Z-
dc.date.available2023-05-23T02:04:08Z-
dc.date.issued2566-05-23-
dc.identifier.citationบทความ, การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครองen_US
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1019-
dc.descriptionบทความ, การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 2) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการ ดำเนินงานการบริหารจัดการสาธารณภัย และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลไสหร้า อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีเจาะจงจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับพื้นที่ ประกอบด้วย ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ผู้นำท้องที่และอาสาสมัครในพื้นที่ จำนวน 18 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บรวมรวมข้อมูล มีค่าความสอดคล้องเท่ากับ 0.97 แล้ววิเคราะห์เนื้อหาโดยการตีความสร้างข้อสรุป การวิจัยเชิงปริมาณกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามสัดส่ วนประชากร 9 หมู่บ้านขององค์การบริหารส่วนตำบลไสหร้า จำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลไสหร้า สภาพพื้นที่มีความแตกต่างจากอดีตแบบค่อยเป็นค่อยไป มีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น สังคมและวัฒนธรรมมีความแตกต่างจากอดีต ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมโดยรวมอันนำมาซึ่งสาเหตุของการเกิดสาธารณภัยระดับพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น 2) ระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานการบริหารจัดการสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลไสหร้า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงตามลำดับ คือ ด้านการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ด้านระเบียบกฎหมาย ด้านการมีส่วนร่วม และด้านการคลังและงบประมาณและ 3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลไสหร้า ควรส่งเสริมสิทธิและสวัสดิการให้แก่อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการขับเคลื่อนโครงการก่อสร้าง ขนาดใหญ่ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดสาธารณภัยของชุมชน ส่งเสริม การบังคับใช้กฎหมายที่มุ่งเน้นการลดความเสี่ยงที่มีอยู่เดิมและป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงใหม่ จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ที่พร้อมในการช่วยเหลือประชาชน ควบคู่กับความรู้และความชำนาญของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ส่งเสริมการฝึกอบรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของเจ้าหน้าที่และประชาชน สร้างความตระหนักให้ชุมชนได้เห็นถึงความสำคัญของสาธารณภัย และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตให้มีความพร้อมในการอยู่ร่วมกับสาธารณภัยรูปแบบต่าง ๆen_US
dc.description.sponsorshipบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.subjectการพัฒนาประสิทธิภาพen_US
dc.subjectการบริหารจัดการสาธารณภัยen_US
dc.subjectองค์การบริหารส่วนตำบลไสหร้าen_US
dc.titleการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสาธารณภัยขององค์การบริหารส่วนตำบลไสหร้า อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราชen_US
dc.title.alternativeDevelopment Of Disaster Management Efficiency Of Saira Subdistrict Administrative Organization, Chawang District, Nakhon Si Thammarat Provinceen_US
dc.typeArticleen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Politics and Government : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is pol Anucha66.pdfบทความ, การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง647.31 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น